วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วัน พฤหัสบดี ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2557




ความรู้ที่ได้รับ

 สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้เป็นการนำเสนอวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยวันนี้ได้ออกมานำเสนอทั้งหมด 7 เรื่อง
1.น.ส.กมลพรรณ แสนจันทร์ นำเสนอ เรื่อง การส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา
สรุปผลการวิจัย
         การส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนชั้นอนุบาล3 โดยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่าเด็กนักเรียนอนุบาล 3 ทั้ง 36 คน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกม การศึกษามีทักษะการสังเกตสูงขึ้น

2.น.ส.กมลกาญจน์  มินสาคร เรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
สรุปผลการวิจัย
นิทานที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมทดลองหลังการฟังนิทานมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ที่มีทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อสาร อยู่ในเรื่อง เช่น นิทานเรื่องครึ่งวงกลมสีแดงเป็นเนื้อเรื่องที่สอนให้เด็กสังเกต รูปทรงเลขาคณิตต่างๆว่า เป็นอะไรได้บ้าง เช่น วงกลมเป็นพระอาทิตย์ สามเหลี่ยมเป็นหลังคา เด็กจะได้ใช้ความคิดตามเนื้อเรื่องในนิทาน ได้ฝึกการสังเกต การจำแนก สื่อสารความหมายให้ผู้อื่นทราบ

3. น.ส.นฤมล  บุญคงชู  เรื่อง  การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย
การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีขั้นตอน ดังนี้ 
1.ทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อที่น่าสนใจ
2. เด็กค้นคว้าวิจัยหาความรู้ ครูจะพาเด็กไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ทำให้เด็กมีประสบการณ์ตรง 
3.การประเมินผลการจัดการเรียนรู้ โดย สังเกต สนทนา พูดคุย ประเมินจากผลงาน 

สรุปผลการวิจัย 
คำสำคัญ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ / กิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติ
จุดมุ่งหมาย  
  1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
เครื่องมือที่ใช้
  1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
  2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
เด็กได้รับทักษะ
  • การสังเกต  การจำแนก  หามิติสัมพันธ์  ลงความเห็น
จุดมุ่งหมาย  เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และแบบปกติ
สรุปผลการวิจัย 
เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน โดยเด็กที่ได้รับการจัดเเบบเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะสูงกว่าแบบปกติ ซึ่งกิจกรรมแบบเน้นกระบวนการนั้นจะเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมกิจกรรมทุกขั้นตอน ได้ปฏิบัติจริงโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ในการสังเกต เปรียบเทียบ ทดลอง และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

จุดมุ่งหมาย
  1. เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยจำแนกหลายด้าน การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
  2. เปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้
  • แบบทดสอบระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
  • แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
สรุปผลการวิจัย 
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ โดยเด็กเป็นผู้ปฏิบัติลงมือด้วยตนเอง ลักษณะกิจกรรมเด็กได้สังเกตวัสดุอุปกรณ์ วางแผนทดลอง สังเกตการเปลี่ยนแปลง และสรุปการทดลองตามความเข้าใจตนเอง 


จุดมุ่งหมาย

           เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ 
เครื่องมือที่ใช้

1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
  • แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  •  แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล จำนวน 50 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ชุด
1) แบบทดสอบด้านการจำเเนก  2)การจัดประเภท  3)อุปมาอุปมัย  4)อนุกรม 5)เเบบทดสอบสรุปความรู้

สรุปผลการวิจัย
           เด็กปฐมวััยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเเบบปกติหลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 กิจกรรมศิลป์เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เน้นการแก้ปัญหา โดยใช้วัสดุอุปกรณ์มางศิลปเป็นตัวกระตุ้นกำหนดเงื่อนไขแก้ปัญหา


เทคนิคการสอนTeaching
  1. ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ฝึกการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามได้
  2. ฝึกการอ่าน สรุปวิจัยให้ได้ใจความสำคัญ
  3. สอดแทรก และอธิบายความรู้เพิ่มเติมได้อย่างเข้าใจ
  4. การออกไปนำเสนอบ่อยๆทำให้รู้สึกชินกับหน้าชั้นเรียนเเละสร้างความมั่นใจให้เกิดความกล้าคิดกล้าพูดมากขึ้น 
  5. แนะนำการหาข้อมูลมานำเสอน เช่น บอกชื่อวิจัย จุดประสงค์ และแผนกิจกรรมมานำเสนอ

การประยุกต์ใช้Application
  1. ศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับวิจัยให้หลากหลาย ดูแผนกิจกรรมจากวิจัยเพื่อเป็นแนวทางต่อไปในการทำวิจัยในอนาคต
  2. นำแผนกิจกรรมที่สนใจไปศึกษาต่อ สามารถนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัยเมื่อออกฝึกสอนได้
  3. การสอนวิทยาศาสตร์ต้องสอนในเรื่องที่ไกล้ๆตัวเด็กก่อน และสอนจากเรื่องง่ายไปยากเสมอ
  4. ต้องศึกษาความรู้เกี่ยวกับวิจัยไว้มากๆ เพราะผ่านการนำไปใช้จริง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนมากขึ้น

การประเมินEvaluation

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอวิจัยพร้อมจดบันทึก ร่วมตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม ฟังคำแนะนำที่อาจารย์บอกเพื่อนมาใช้กับตัวเองได้ เนื่องจากสัปดาห์นี้เป็นการนำเสนอวิจัยทั้งคาบทำให้บรรยากาศในห้องค่อนข้างเสียงดัง ดิฉันจึงขาดสมาธิในการฟังไปบ้างบางครั้ง

ประเมินเพื่อน   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เสียงดังเล็กน้อย ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามบางคนก็ตั้งใจตลอดพร้อมกับจดบันทึก เพื่อนที่ออกไปนำเสนอมีความตั้งใจเตรียมตัวมา มีเอกสาร ในการนำเสนอ ได้รับคำเเนะนำจากอาจารย์ให้ไปศึกษาความรู้เพิ่มเติม

ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงต่อเวลาเสมอ แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจให้คำแนะนำศึกษาวิจัยที่ทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย














2 ความคิดเห็น:

  1. ลองตรวจสอบองค์ประกอบBlogนะคะ ส่วนการบันทึกถ้ามีรายละเอียดจะได้เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ เช่นแผนศิลปสร้างสรรค์วิทยาศาสตร์เขียนอย่างไร เพิ่มคำศัพย์ภาษาอังกฤษและลองหาวิธีการนำเสนอที่หลากหลายวิธีจะทำให้Blog ของเราน่าสนใจมากขึ้น

    ตอบลบ
  2. สรุปได้ดีคะ ควรเพิ่มรายละเอียดของตัวอย่างแผนน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้และควรหาวิธีนำเสนอที่หลากหลายจะทำให้Blogของเรามีสีสรรมากยิ่งขึ้น ตรวจสอบองค์ประกอบของblogนะคะว่าครบหรือไม่

    ตอบลบ