วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

                                          วัน พฤหัสบดี ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2557 

อุปกรณ์(contraption)

1. กรรไกร  2. ไม้เสียบลูกชิ้น 3. กระดาษ 4. เทปกาว


How to

1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.  พับครึ่งวาดรูปอะไรก็ได้ที่สัมพันธ์กันทั้ง 2 ด้าน
3. เอาไม้เสียบและติดเทปกาวให้แน่น
4. ทดลองหมุนกับมือเร็วๆสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้น













             เกิดจากการรับรู้ของสมองกับตาเป็นไปในทิศทางเดียว เพราะเราจะมองแต่ละภาพจนจำได้เมื่อหมุนไปหมุนมาเราก็จะจ้องภาพนั้นนานๆ ถ้ายิ่งเพิ่มความเร็วในการหมุดยิ่งก็จะทำให้สายตาเราปรับไม่ทันและรับรู้เกิดเป็นภาพเดียวกัน

Science Articles



1.  เด็กๆอนุบาลสนุกกับ “สะเต็มศึกษา” ผ่านโครงงานปฐมวัย  เน้นการนำความรู้และกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศกรรมศาสตร์ ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

2.  โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร? 

สสวท. ปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการ  เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย สำหรับกิจกรรมที่จัด มี 6 กิจกรรม ประกอบด้วย
1.  กิจกรรมหวานเย็นชื่นใจ
2.  ความลับของดิน
3.   ถึงร้อนก็อร่อยได้
4.   มหัศจรรย์กังหันลม
5.  ว่าวเล่นลม
6.  โมบายเริงลม

3.  บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์  การเรียนรู้โดยการใช้เข็มทิศฝึกให้เด็กได้คิดได้ลงมือปฏิบัติทำเอง เด็กรู้จักแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง  และภูมิใจในตนเอง


เทคนิควิธีสอน (Education)
                         
1.   มีการเตรียมความพร้อมการนำสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาทดลองดู และประดิษฐ์สื่อง่ายๆที่ได้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์และทำได้ง่ายเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย
2.  เปิดเพลงที่ร้องเกี่ยวกับคำตอบของวิทยาศาสตร์ ให้คิดตามอาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดในการแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน เพื่อให้เข้าใจความหมายที่ถูกต้อง

3.   การที่เพื่อนนำเสนอบทความ ทำให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในเเง่ต่างๆ ที่หลากหลายโดยไม่ซ้ำกันในแต่ละวัน


การประยุกต์ใช้   (Application )

1.  การเรียนโดยผ่านเพลง ทำให้จำง่าย เพราะแต่ละประโยคของเพลงนั้นสั้น แต่ได้ใจความ จึงทำให้เด็กๆได้ความรู้ และจากเพลงสามารถปฏิบัติตามเนื้อหาในเพลงได้
2.  การนำสื่อไปใช้กับเด็กทำให้เด็กเกิดความสนใจและอยากรู้อยากเห็นแล้วเด็กจะได้ลองถูกลองผิดตามความคิดซึ่งทำให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ตามมา
3.  การประดิษฐ์สื่อเล่นเองทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ ส่งผลให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง



การประเมิน (Evaluation)

ประเมินตนเอง = เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน และเเต่งกายถูกระเบียบ
ประเมินเพื่อน  = ตั้งใจเรียน ตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม ให้ความร่วมได้เป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์  =   อธิบายเนื้อหาเข้าใจ ใช้คำพูดที่ดีในการสอน มีสื่อมาให้ทดลอง ใช้คำถามปลายเปิดเผื่อกระตุ้นให้นักศึกษาคิดในการตอบคำถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

vocabulary

1.  science  process skills = ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  
2.  Collection = สะสมสิ่งใหม่ๆ  
3.  Facts = ความจริง 
4.  tools = เครื่องมือ  
5. Use = ใช้  
6.  Observe = สังเกต
7.  Measure = การวัด
8. Infer = ลงความเห็น  

ศึกษาเพิ่มเติม >>>Click<<<










วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

                                             วัน พฤหัสบดี ที่ 11 กันยายน พ.ศ.2557 

สรุปองค์ความรู้ที่ได้




(วันนี้มีการนำเสนอบทความจากตัวแทนเพื่อนสัปดาห์ละ 4 เรื่อง)  ดังนี้

1.  หลักสูตรเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากกว่าเนื้อหา
2.  5แนวคิดในการสอนวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย สอนให้มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดอย่างมีระบบ และคิดสร้างสรรค์
3.  วันวิทยาศาสตร์น้อย จะปลูกฝังให้เด็กรักการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก
4.  สอนลูกเรื่อง ภาวะโลกร้อน สอนให้เด็กรู้คุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมสามารถบอกสาเหตุโลกร้อนได้

ความรู้ที่ได้จากบทความ
  •       มีทักษะในการฟัง อ่าน คิดวิเคราะห์ และการตอบคำถามมากขึ้น 
  •       ได้รับความรู้ที่หลากหลายจากบทความที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละคน
  •       มีทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูลจากการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด


เทคนิควิธีสอน
  1. มีสื่อการสอนจากPower Point ที่น่าสนใจ ทำให้เรียนเข้าใจมากขึ้น
  2. สอนให้นึกเป็นภาพ เป็นขั้นตอน ทำให้จำเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น
  3. ครูสนทนาและใช้คำถาม?เป็นกันเองไม่เคร่งครัดว่าจะตอบผิด/ถูก
  4. เปิดโอกาสให้ถามและอธิบายแก่นักศึกษาให้เข้าใจได้เป็นอย่างดี
  5. การสรุปความรู้เป็น Mind Mapping

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. จัดกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของเด็ก
  2. การใช้คำถาม เหมาะสมในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์มากที่สุด
  3. การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเรียนรู้ ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง












วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


                                                    บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วัน พฤหัสบดี ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2557 



สรุปองค์ความรู้ที่ได้






เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
·       วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
·       รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
·       เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
·       เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
·       ใช้กรรไกรมือเดียวได้
·       วาดและระบายสีอิสระได้

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

·         แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
·       ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
·      กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง

พัฒนาการด้านสังคม
·        รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
·        ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
·       เล่นสมมติได้

ด้านร่างกาย
·       กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
·         รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
·         เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
·         เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้
·         ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
·        กระฉับการเฉยไม่ชอบอยู่เฉย

ด้านอารมณ์และจิตใจ

·       แสดงออกทางอารมณ์ได้
     เหมาะสมกับบางสถานการณ์
·      เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น

ด้านสังคม
·       แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
·       เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน หลัง
·         แบ่งของให้คนอื่น
·       เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
ด้านร่างกาย
·         กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
·       รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
·       เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว

        
ด้านอารมณ์และจิตใจ

·         แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์เหมาะสม
·       ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น

ด้านสังคม
·         ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไดด้วยตนเอง
·         เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
·       พบผู้ใหญ่  รู้จักไหว้  ทำความเคารพ

เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี

พัฒนาการด้านสติปัญญา
·       สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
·       บอกชื่อของตนเองได้
·       ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
·      สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้


พัฒนาการด้านสติปัญญา
·       จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
·       บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
·       พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ


พัฒนาการด้านสติปัญญา
·         บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง  จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
·         บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้
·         พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง





การนำไปประยุกต์ใช้

1.  รู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ได้ออกแบบ สร้างสรรค์ ผลงานให้สวยงาม
3.  นำความรู้ที่เกียวกับวิทยาศาสตร์ไปจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก
4.  เข้าใจพัฒนาการของเด็กมากขึ้นจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับวัย


การบ้าน


             
         การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้  เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้  เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์  
          การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ดร.ดินา  สตาเคิล  ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ  ประเทศอิสราเอล  ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น  เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้  หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว   หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้   หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง  หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
         ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง  4  หน่วยดังกล่าว  เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  ทักษะการสังเกต  การจำแนกประเภท  การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ  ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้  หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
        การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ  การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และการเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน  โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  คือ  1)  การสังเกต  2)  การจำแนกเปรียบเทียบ  3)  การวัด  4)  การสื่อสาร  5)  การทดลอง    6)  การสรุปและนำไปใช้  สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์คือ  การสร้างให้เด็กมีนิสัยการค้นคว้า  การสืบค้น  และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว รู้จัก



แหล่งอ้างอิง

            กุลยา  ตันติผลาชีวะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยกรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊คส์, 2551








วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

                                                บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดี ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2557 


สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ 




ได้ศึกษาเนื้อหาบางส่วนเพิ่มเติมมาจาก kamolkarn Minsakorn 
เนื่องจากไปสัมภาษณ์ กยศ.


พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นลำดับขั้นและต่อเนื่อง

พัฒนาการ  จะเป็นตัวบอกความสามารถของเด็ก / สิ่งที่เด็กทำได้
  
พัฒนาการทางสติปัญญา

   เริ่มจาก0-2ปี  ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5  เรียนรู้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อให้มีชีวิตรอดในสังคม

ตัวอย่าง    
                  เด็กเล่นตุ๊กตาแมว  --->  เล่นกับแมวจริง  --->    ถูกข่วน   =   ไม่เล่นกับแมวอีก



  รู้พัฒนาการของเด็กเพื่อจัดการเรียนรู้ ประสบการณ์ ให้สอดคล้องกับความามารถ ความต้องการ  พัฒนาการของเด็ก

วิธีการเรียนรู้  การเล่นที่ลงมือทำกับวัตถุ / กิจกรรม ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเป็นทางการเเละไม่เป็นทางการ เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง

การประยุกต์ใช้ 
  1. นำไปออกแบบจัดกิจกรรมให้สอดคล้องเหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก
  2. การสอนเด็ก ควรเลือกเรื่องที่เด็กสนใจ ใกล้ตัวเด็ก และไม่ซับซ้อนเกินไป
  3. การจัดกิจกรรมโดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย









วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดี ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2557 



ความรู้ที่ได้รับ 
            
     วันนี้วันแรกของการเรียนอาจารย์แจกCourse Syllabus อธิบายในการเรียนการสอนของรายวิชานี้ ชี้แจงข้อตกลงในการทำ blogger 

คำอธิบายรายวิชา 

ความหมาย  ความสำคัญ  แนวคิด ทฤษฎี  และหลักการทางวิทยาศาสตร์  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์  กรอบมาตรฐาน  สาระการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย การออกแบบ การวางแผนกิจกรรมบูรณาการ การผลิตสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก การใช้คำถามพัฒนาการคิด  บทบาทครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์



ผลลัพธ์การเรียนรู้
1.
ด้านคุณธรรม  จริยธรรม 
2.ความรู้ 
3.ทักษะทางปัญญา  
4.ทักษะความสามารถระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบ 
5.การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 
 6.การจัดการเรียนรู้

วิธีการสอนในวันนี้ = อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชาและ ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าคิดกล้าตัดสินใจในการเลือกที่จะทำ blogger หรือ Portfolio ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น


การนำมาประยุกต์ใช้
1.
ตั้งใจเรียน เเละสามารถศึกษาหาความเกี่ยวกับรายวิชานี้ได้มากขึ้น 
2.มีการเตรียมความพร้อมในวิชาเรียนมากขึ้น 
3.มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีมากขี้น การนำความรู้มาออกแบบ blogger ได้

การประเมินหลังการเรียน

 
ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและจดตาม  แสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ 
 เพื่อน   แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์ ร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
 
อาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา  ตั้งใจสอน และให้ความรู้แก่ศิษย์เต็มที่