วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
วัน พฤหัสบดี ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2557

ผู้วิจัย นงลักษณ์ บุญระชัยสวรรค์

จุดประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์การลงสรุปใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถามสำหรับเด็กปฐมวัย
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถาม
ตัวแปรต้น   กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คาถาม
ตัวแปรตาม  การส่งเสริมทักษะการลงสรุปสาหรบเด็กปฐมวัย


กิจกรรม  ไข่หมุน
1. ไข่ต้มสุก
2. ไข่ดิบ

ขั้นนำ
ครูบอกชื่ออุปกรณ์และให้เด็กๆสังเกตอุปกรณ์

ขั้นสอน
  1. เด็กนำ ไข่ที่ต้มสุกมาทดลองหมุด และสังเกตการหมุน
  2. เด็กนำไข่ดิบมาทดลองหมุน และสังเกตการหมุน
  3. นำไข่ต้มสุกและไข่ดิบมาทดลองการหมุน และให้เด็กสังเกต
  4. เด็กบอกความแตกต่างเกี่ยวกับการหมุนของไข่ทั้งสองได้

ขั้นสรุป 
ครูและเด็กสนทนาร่วมกันสรุปกิจกรรม 

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
- การสังเกต       - การเปรียบเทียบ

กิจกรรมต่อไป อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มละ5คน แล้วแจกกระดาษA4 คนละ1แผ่น ทำแผ่นพับการจัดประสบการณ์ ซึ่งกลุ่มดิฉัน ทำหน่วยกล้วย เเละอาจารย์อธิบายวิธีเขียนแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์ถึงผู้ปกครองอย่างละเอียด

วิธีการทำแผ่นพับแผนการจัดประสบการณ์ หน่วยกล้วย




  1. แบ่งกระดาษโดยพับกระดาษเป็นสามส่วน
  2. ด้านนอก
  • วาดสัญลักษณ์ของโรงเรียน
  • ชื่อโรงเรียน
  • ชื่อหน่วย
  • วาดรูปหน่วย กล้วย
  • ชื่อนักเรียน
  • ชื่อครูประจำชั้น



     3. ด้านใน
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • วัตถุประสงค์
  • สาระที่ควรเรียนรู้
  • ขอความร่วมมือถึงผู้ปกครอง
  • สื่อในกิจกรรม




 
 4. ส่วนหลัง

  • ภาพกิจกรรมเกมเกี่ยวกับหน่วยที่สอน เรื่อง กล้วย


เทคนิคการสอน
  1. ได้ลงมือปฏิบัติกระทำเอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับเพื่อน และร่วมกันวางแผนในการทำงานเกิดทักษะทางสังคมในการทำงานกลุ่มมากขึ้น
  2. การอธิบายวิธีการเขียนแผ่นพับอย่างละเอียดและแสดงวิธีทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
  3. การใช้คำถามปลายเปิดให้คิดได้หลากหลาย มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมีปฏิสัมพันธ์กับครู
  4. การดูแลเอาใจใส่เด็กขณะที่ทำและการให้คำแนะนำในการเขียน 
การนำไปประยุกต์ใช้

  1. การทำงานร่วมกับเพื่อน เปิดโอกาสให้ยอมรับความคิดเห็นและช่วยเหลือกันและกัน
  2. การทำแผ่นพับที่สามารถนำเทคนิคไปใช้ได้จริงเพื่อขอความร่วมมือกับผู้ปกครอง
  3. การมีวิธีที่หลากหลายในการของความร่วมมือกับผู้ปกครองได้อย่างเหมาะสม

ประเมินตนเอง(Evation)

ประเมินตนเอง(Me)  แต่งกายสุภาพ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและทำงานแสดงความคิดเห็นกับร่วมกับเพื่อนๆ สนใจในสิ่งใหม่ทีอาจารย์นำมาสอนเสมอๆ

ประเมินเพื่อน(Friend)  เข้าห้องตรงต่อเวลา เเต่งกายเรียบร้อย ช่วยเหลือกันและกันระหว่างการทำงานกลุ่ม มีสมุดจดบันทึก ยอมรับฟังความคิดเห็นกันและกันทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพ แต่ละกลุ่มได้ออกแบบแผ่นพับกลุ่มตนเองได้อย่างสร้างสรรค์และสวยงาม

ประเมินอาจารย์(Teachers) เข้าสอนตรงต่อเวลา ดูและเอาใจใส่นักศึกษา ใช้คำถามที่กระตุ้นความคิดที่หลากหลายเพื่อให้นักศึกษาคิดเกมใหม่ๆบ้าง ให้คำแนะนำเเละเป็นที่ปรึกษาที่ระหว่างการทำแผ่นพับ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นต้นแบบให้นักศึกษาปฏิบัติตาม









สรุปโทรทัศน์ครู





การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านธรรมชาติโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
มาทาลโปรแกรม หน่วยการเรียนรู้"ชุมชนของเรา"
จัดกิจกรรมให้เด็กสังเกตธรรมชาติรอบตัว ระหว่างการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน

ขั้นนำ
ถามเด็กว่าในชุมชนของเรามีอะไรบ้าง
ขั้นสอน
1.ให้เด็กสร้างบ้านของตนเองคนละหนึ่งหลัง
2. ให้เด็กนำบ้านของตนเองมาวางรวมกับเพื่อนๆเพื่อสร้างเป็นชุมชน โดยครูมีอุปกรณ์ให้ คือ ไม้บล็อก ตะเกียบ เพื่อให้เด็กนำมาสร้างเป็นเส้นทางจากบ้านไปโรงเรียน เช่น ทางเดิน ถนน สะพาน
3. เด็กสังเกตเส้นทางจากบ้านไปโรงเรียนว่าเห็นอะไรบ้าง
สรุป
สนทนาร่วมกับเด็กโดยถามว่าจากบ้านของเด็กๆสามารถเดินไปหาใครได้บ้าง ที่บ้านของเด็กๆมีอะไรบ้าง


กิจกรรมที่2 กิจกรรมแยกเเยะสิ่งของ


ครูมีสิ่งของต่างๆให้เด็กดู และตั้งคำถามกับเด็กโดยใช้คำถามปลายเปิด เช่น
- ซ้อมใช้อย่างไร การเปรียบเทียบกันระหว่างช้อนกับซ้อมว่าเหมือนและต่างกันอย่างไร
-เด็กสามารถจับคู่ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของต่างๆได้






วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย


วิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามเเนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย




ชื่อผู้วิจัย  สำรวย  สุขชัย
มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

  1. เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  3. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำแนกรายทักษะ
ความสำคัญของการวิจัย

     ผลของการวิจัยในครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้แก่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครู นำไปเป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และการจัดการเรียนรู้ตามเเนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปลูกฝังการใช้ทรัพยากรได้อย่างเพียงพอตามวิถีชีวิตและความเหมาะสมตามวัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดยางสุทธาราม แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ห้องเรียน ห้องละ 30 คน รวมทั้งหมด 120 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
  1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามเเนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย
  2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3 ทักษะ ประกอบด้วย
                          2.1 ทักษะการจำแนกประเภท
                          2.2 ทักษะการสื่อความหมาย
                          2.3 ทักษะการลงความเห็น

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง5-6ปี ที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนวัดยางสุทธาราม แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
  2. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง พฤติกรรมที่เด็กเเสดงออกถึงการเรียนรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อค้นหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทดสอบได้ด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  3. การจัดการเรียนรู้ตามเเนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็ฺกปฐมวัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
  1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามเเนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย

         ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดการเรียนรู้ตามเเนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าเด็กปฐมวัยมีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รายทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเปิดโอกาสให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเองเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง



วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปVDO เรื่อง ความลับของอากาศ

สรุปเนื้อหาจากVDO เรื่อง ความลับของอากาศ




     อากาศ (atmosphere) คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน อากาศมีอยู่ รอบ ๆ ตัวเรา ไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น

สมบัติของอากาศ (Properties)
1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
2.อากาศมีน้ำหนัก
3.อากาศต้องการที่อยู่
4.อากาศเคลื่อนที่ได้ 
อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก
เป็นต้น
ความสำคัญของอากาศ
1. มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
2. มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ  ทำให้เกิดลมและฝน
3. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมีความอบอุ่นขึ้น
4. มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก
5. ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ 
6. ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้เล็กลง 





บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วัน พฤหัสบดี ที่ 27 พฤศจิกายน 2557


การเรียนการสอนวันนี้คือ นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู

  การนำเสนอวิจัยโดยสรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้



  1.  วิจัยเรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  2.  วิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
  3.  วิจัยเรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  4.  วิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีผลต่อทักษะวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย

  การนำเสนอโทรทัศน์ครู สรุปเป็นMind Map ได้ดังนี้





เทคนิคการสอน

  1. ให้คำแนะนำในการนำเสนอที่ดี ฝึกการพูด การออกเสียง ตัว ร. ล. ให้ถูกต้อง
  2. การเสริมแรงให้กะตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น โดยประโยคที่อาจารย์มักจะกล่าวเสมอคือ อย่ารอจนผมเป็นสีขาว ให้เก่งตั้งแต่ตอนนี้ เป็นประโยคที่ทำให้มีสมาธิเเละตั้งใจมากขึ้น
  3. การใช้คำถามกระตุ้นความคิด พร้อมการอธิบายในเนื้อหาของวิจัยและโทรทัศน์ครูเพิ่มเติมจากที่เพื่อนนำเสนอให้เข้าใจมากขึ้น
  4. เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ จากการศึกษาค้นคว้าแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น การสืบค้นวิจัย โทรทัศน์ครู การทำบล็อกเกอร์
  5. การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีโดย สอนตรงต่อเวลา เป็นที่ปรึกษาเเละให้คำแนะนำได้อย่างเข้าใจ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Evaluation)

  1. การมีความรู้ในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย สามารถนำสิ่งต่างๆรอบๆตัวมาดัดแปลง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์นำมาใช้ได้เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
  2. สามารถนำวิจัยเรื่องที่สนใจไปใช้กับเด็กได้จริงเพราะผ่านการทดลองแล้ว
  3. การเป็นผู้ฟังที่ดี และหมั่นจดบันทึก ซึ่งจะทำให้เข้าใจในเรื่องที่ฟังและจำได้ในระยะยาว
  4. บุคลิกภาพการพูดนำเสนอหน้าชั้น พัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสม และควรแต่งกายให้เรียบร้อยทุกครั้ง
การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Me) วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลามีความพร้อม ที่จะมาเรียนโดยทานข้าวเช้ามาจากโรงอาหารแล้วเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูแล้วจดบันทึกตาม ร่วมตอบคำถาม และแต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน (Friend) มีการเตรียมตัวมาดีในเรื่องการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับวิจัย และโทรทัศน์ครู เนื้อหามีความน่าสนใจ และมีกิจกรรมหลากหลายทำให้ไม่เบื่อ แต่วันนี้เพื่อนๆในห้องก็มีบางคนที่ไม่ค่อยตั้งใจเพื่อนที่ออกไปนำเสนอ อาจจะเป็นเพราะว่า วันนี้มีแต่การนำเสนอทำให้เมื่อฟังนานๆก็อาจจะง่วงบ้าง แต่เพื่อนๆบางคนก็ตั้งใจฟังเเละจดบันทึก ร่วมตอบคำถามแสดงความคิดเห็นอยู่บ่อยๆด้วย
ประเมินอาจารย์ (Teachers) อธิบายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิจัยและกิจกรรมในโทรทัศน์ครูให้นักศึกษาฟังอย่างเข้าใจ ใช้คำถามฝึกให้รู้จักคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ ไม่กดดัน เพราะเพื่อนๆจะคอยช่วยตอบคำถามของอาจารย์อยู่เสมอ บางครั้งเมื่อนักศึกษาเสียงดังก็มีเทคนิคพูดให้แง่คิดให้นักศึกษามีความสนใจและหันกลับมาตั้งใจเรียน










วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วัน พฤหัสบดี ที่ 20 พฤศจิกายน 2557

การเรียนการสอนวันนี้
Mind Map สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์



            อาจารย์ให้นำสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เคยประดิษฐ์มาแยกประเภท จัดหมวดหมู่ว่าของเล่นชนิดใดอยู่หมวดใด โดยมีหมวด 1.เเรงลม 2.แรงหมุน 3.พลังงานแม่เหล็ก 4.จุดศูนย์ถ่วง 5.เกิดเสียง 6.การเกิดพลังงาน 7.เล่นตามมุม 8.สปริงเกอร์

 จากนั้นเป็นการนำเสนอวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำหรับด็กปฐมวัย โดยสรุปเป็น Mind map ได้ดังนี้





2. วิจัยเรื่อง ผลการบันทึกการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย

3. วิจัยเรื่อง ผลของการจัดประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย


4. วิจัยเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุ่มวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน


วันนี้มีกิจกรรมทำขนมวาฟเฟิล(Waffle) ให้นักศึกษาได้ทดลองทำกันด้วย





อุปกรณ์(Equipment)  ดังนี้
  • แป้งวาฟเฟิล  (Waffle Flour)
  • เครื่องทำวาฟเฟิล  (Waffle Oven)
  • เนย ( Butter)
  • ถ้วยพลาสติก  (Plastic cups)
  • ช้อน  (Spoon)
  • แก้ว  (Glass)
  • จาน  (Plate)
  • ไข่ไก่  (Egg)
  • น้ำ  (Water)



1. ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ไว้ บอกอุปกรณ์และสาธิตวิธีการทำขนมวาฟเฟิลให้นักศึกษาดู
2. ขออาสาสมัครมาช่วยครูจัดของและเเบ่งเป็น 6 กลุ่ม
3. ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมารับอุปกรณ์และช่วยกันทำ 
     -  เริ่มจากตอกไข่ไก่ลงไปในชามตีไข่ให้เข้ากัน 
     -  ใส่เนยลงไป
     -  ใส่เเป้งวาฟเฟิลทีละนิด
     -  ใส่น้ำและตีให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน
     -  ตักใส่ถ้วยแต่ละกลุ่มจะได้คนละ 1 ถ้วย 
เเล้วนำมาเทลงบนเตาทำวาฟเฟิลข้างละ1ถ้วยครึ่ง ปิดเตารอให้สุกแล้วก็ตักใส่จานแล้วทานได้เลย




เทคนิคการสอน

  1.  เปิดโอกาสให้ศึกษาหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ เช่น ค้นหาวิจัย โทรทัศน์ครู
  2. ฝึกกระบวนการคิด การตอบคำถาม ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  3. ฝึกให้รู้จักการสรุปวิจัยที่ได้ใจความ สังเกตชื่อวิจัย กิจกรรมที่จัด และคำนิยามศัพท์
  4. การให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติจริงโดยอาจารย์จัดเตรียมอุปกรณ์มาให้ คือ การทำวาฟเฟิล ทำให้ได้ลงมือกระทำจริงๆเกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน และมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆ
  5. คอยดูแล และให้คำแนะนำระหว่างทำกิจกรรม เช่น วิธีใส่ขนมที่เตาควรทำอย่างไรบ้าง และการให้ทุกกลุ่มทำกิจกรรมจนครบทุกกลุ่ม


การนำไปประยุกต์ใช้

  • การนำเสนอวิจัย เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในเรื่องวิจัยที่หลากหลาย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาการทำวิจัยในภายภาคหน้า
  • การใช้เทคโนโลยี ประกอบการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • การทำอาหาร ส่งเสริมให้เด็กรู้จักสังเกต การวางแผนขั้นตอนการทำ การแก้ไขปัญหากับสิ่งที่เกิดขึ้น การลงมือปฏิบัติจริง เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ระหว่างที่ทำวาฟเฟิล คือ การใส่ส่วนผสมต่างๆ การตกแต่งให้สวยงาม เป็นต้น

การประเมิน(Evaluation)

ประเมินตนเอง (Me)     ฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยและจดบันทึก ช่วยเพื่อนๆจัดโต๊ะเป็นกลุ่มเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม ทำขนมวาฟเฟิล มีน้ำใจ นำอุปกรณ์ไปล้าง สนใจขั้นตอนการทำวาฟเฟิลในกลุ่มตนเอง เเละเดินเปรียบเทียบดูกับกลุ่มอื่นๆและสังเกตว่า แต่ละกลุ่มนั้นมีเทคนิคในการทำที่แตกต่างกัน ทำให้ขนมบางกลุ่มมี แข็งบ้าง นุ่มบ้าง ผิวขุระ หรือ เรียบเนียน ขึ้นอยู่กับวิธีการทำ

ประเมินเพื่อน (Friend)  แต่งการเรียบร้อย ส่วนใหญ่เข้าห้องตรงต่อเวลา เพราะวิชานี้จะเช็คชื่อตรงต่อเวลา เพื่อนๆจึงไม่ค่อยมาสายกัน สนใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยมีบางคนจดบันทึกและบางคนไม่ได้จดแต่ฟังเพื่อนนำเสนอเพื่อนๆทุกคนให้ความสนใจมากในกิจกรรมทำขนมวาฟเฟิล ให้ความร่วมมือในกิจกรรมนี้อย่างดี มีน้ำใจเมื่อเพื่อนไม่มีอุปกรณ์ก็ให้ยืม

ประเมินอาจารย์ (Teacher)  แต่งกายสุภาพ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำเสนอวิจัย และระหว่างที่ทำวาฟเฟิล เช่น เเนะนำการใส่ขนมลงเตาว่าใส่ประมานไหนให้พอดี ซึ่งวันนี้บรรยากาศในการเรียนการสอนสนุกสนานมาก เพราะได้ทดลองลงมือทำขนมวาฟเฟิลด้วยตนเอง 











วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วัน พฤหัสบดี ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2557




ความรู้ที่ได้รับ

 สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้เป็นการนำเสนอวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยวันนี้ได้ออกมานำเสนอทั้งหมด 7 เรื่อง
1.น.ส.กมลพรรณ แสนจันทร์ นำเสนอ เรื่อง การส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา
สรุปผลการวิจัย
         การส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนชั้นอนุบาล3 โดยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่าเด็กนักเรียนอนุบาล 3 ทั้ง 36 คน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกม การศึกษามีทักษะการสังเกตสูงขึ้น

2.น.ส.กมลกาญจน์  มินสาคร เรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
สรุปผลการวิจัย
นิทานที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมทดลองหลังการฟังนิทานมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ที่มีทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อสาร อยู่ในเรื่อง เช่น นิทานเรื่องครึ่งวงกลมสีแดงเป็นเนื้อเรื่องที่สอนให้เด็กสังเกต รูปทรงเลขาคณิตต่างๆว่า เป็นอะไรได้บ้าง เช่น วงกลมเป็นพระอาทิตย์ สามเหลี่ยมเป็นหลังคา เด็กจะได้ใช้ความคิดตามเนื้อเรื่องในนิทาน ได้ฝึกการสังเกต การจำแนก สื่อสารความหมายให้ผู้อื่นทราบ

3. น.ส.นฤมล  บุญคงชู  เรื่อง  การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย
การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีขั้นตอน ดังนี้ 
1.ทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อที่น่าสนใจ
2. เด็กค้นคว้าวิจัยหาความรู้ ครูจะพาเด็กไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ทำให้เด็กมีประสบการณ์ตรง 
3.การประเมินผลการจัดการเรียนรู้ โดย สังเกต สนทนา พูดคุย ประเมินจากผลงาน 

สรุปผลการวิจัย 
คำสำคัญ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ / กิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติ
จุดมุ่งหมาย  
  1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
เครื่องมือที่ใช้
  1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
  2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
เด็กได้รับทักษะ
  • การสังเกต  การจำแนก  หามิติสัมพันธ์  ลงความเห็น
จุดมุ่งหมาย  เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และแบบปกติ
สรุปผลการวิจัย 
เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน โดยเด็กที่ได้รับการจัดเเบบเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะสูงกว่าแบบปกติ ซึ่งกิจกรรมแบบเน้นกระบวนการนั้นจะเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมกิจกรรมทุกขั้นตอน ได้ปฏิบัติจริงโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ในการสังเกต เปรียบเทียบ ทดลอง และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

จุดมุ่งหมาย
  1. เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยจำแนกหลายด้าน การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
  2. เปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้
  • แบบทดสอบระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
  • แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
สรุปผลการวิจัย 
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ โดยเด็กเป็นผู้ปฏิบัติลงมือด้วยตนเอง ลักษณะกิจกรรมเด็กได้สังเกตวัสดุอุปกรณ์ วางแผนทดลอง สังเกตการเปลี่ยนแปลง และสรุปการทดลองตามความเข้าใจตนเอง 


จุดมุ่งหมาย

           เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ 
เครื่องมือที่ใช้

1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
  • แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  •  แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล จำนวน 50 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ชุด
1) แบบทดสอบด้านการจำเเนก  2)การจัดประเภท  3)อุปมาอุปมัย  4)อนุกรม 5)เเบบทดสอบสรุปความรู้

สรุปผลการวิจัย
           เด็กปฐมวััยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเเบบปกติหลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 กิจกรรมศิลป์เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เน้นการแก้ปัญหา โดยใช้วัสดุอุปกรณ์มางศิลปเป็นตัวกระตุ้นกำหนดเงื่อนไขแก้ปัญหา


เทคนิคการสอนTeaching
  1. ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ฝึกการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามได้
  2. ฝึกการอ่าน สรุปวิจัยให้ได้ใจความสำคัญ
  3. สอดแทรก และอธิบายความรู้เพิ่มเติมได้อย่างเข้าใจ
  4. การออกไปนำเสนอบ่อยๆทำให้รู้สึกชินกับหน้าชั้นเรียนเเละสร้างความมั่นใจให้เกิดความกล้าคิดกล้าพูดมากขึ้น 
  5. แนะนำการหาข้อมูลมานำเสอน เช่น บอกชื่อวิจัย จุดประสงค์ และแผนกิจกรรมมานำเสนอ

การประยุกต์ใช้Application
  1. ศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับวิจัยให้หลากหลาย ดูแผนกิจกรรมจากวิจัยเพื่อเป็นแนวทางต่อไปในการทำวิจัยในอนาคต
  2. นำแผนกิจกรรมที่สนใจไปศึกษาต่อ สามารถนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัยเมื่อออกฝึกสอนได้
  3. การสอนวิทยาศาสตร์ต้องสอนในเรื่องที่ไกล้ๆตัวเด็กก่อน และสอนจากเรื่องง่ายไปยากเสมอ
  4. ต้องศึกษาความรู้เกี่ยวกับวิจัยไว้มากๆ เพราะผ่านการนำไปใช้จริง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนมากขึ้น

การประเมินEvaluation

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอวิจัยพร้อมจดบันทึก ร่วมตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม ฟังคำแนะนำที่อาจารย์บอกเพื่อนมาใช้กับตัวเองได้ เนื่องจากสัปดาห์นี้เป็นการนำเสนอวิจัยทั้งคาบทำให้บรรยากาศในห้องค่อนข้างเสียงดัง ดิฉันจึงขาดสมาธิในการฟังไปบ้างบางครั้ง

ประเมินเพื่อน   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เสียงดังเล็กน้อย ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามบางคนก็ตั้งใจตลอดพร้อมกับจดบันทึก เพื่อนที่ออกไปนำเสนอมีความตั้งใจเตรียมตัวมา มีเอกสาร ในการนำเสนอ ได้รับคำเเนะนำจากอาจารย์ให้ไปศึกษาความรู้เพิ่มเติม

ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงต่อเวลาเสมอ แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจให้คำแนะนำศึกษาวิจัยที่ทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย