วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
วัน พฤหัสบดี ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2557

ผู้วิจัย นงลักษณ์ บุญระชัยสวรรค์

จุดประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์การลงสรุปใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถามสำหรับเด็กปฐมวัย
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถาม
ตัวแปรต้น   กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คาถาม
ตัวแปรตาม  การส่งเสริมทักษะการลงสรุปสาหรบเด็กปฐมวัย


กิจกรรม  ไข่หมุน
1. ไข่ต้มสุก
2. ไข่ดิบ

ขั้นนำ
ครูบอกชื่ออุปกรณ์และให้เด็กๆสังเกตอุปกรณ์

ขั้นสอน
  1. เด็กนำ ไข่ที่ต้มสุกมาทดลองหมุด และสังเกตการหมุน
  2. เด็กนำไข่ดิบมาทดลองหมุน และสังเกตการหมุน
  3. นำไข่ต้มสุกและไข่ดิบมาทดลองการหมุน และให้เด็กสังเกต
  4. เด็กบอกความแตกต่างเกี่ยวกับการหมุนของไข่ทั้งสองได้

ขั้นสรุป 
ครูและเด็กสนทนาร่วมกันสรุปกิจกรรม 

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
- การสังเกต       - การเปรียบเทียบ

กิจกรรมต่อไป อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มละ5คน แล้วแจกกระดาษA4 คนละ1แผ่น ทำแผ่นพับการจัดประสบการณ์ ซึ่งกลุ่มดิฉัน ทำหน่วยกล้วย เเละอาจารย์อธิบายวิธีเขียนแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์ถึงผู้ปกครองอย่างละเอียด

วิธีการทำแผ่นพับแผนการจัดประสบการณ์ หน่วยกล้วย




  1. แบ่งกระดาษโดยพับกระดาษเป็นสามส่วน
  2. ด้านนอก
  • วาดสัญลักษณ์ของโรงเรียน
  • ชื่อโรงเรียน
  • ชื่อหน่วย
  • วาดรูปหน่วย กล้วย
  • ชื่อนักเรียน
  • ชื่อครูประจำชั้น



     3. ด้านใน
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • วัตถุประสงค์
  • สาระที่ควรเรียนรู้
  • ขอความร่วมมือถึงผู้ปกครอง
  • สื่อในกิจกรรม




 
 4. ส่วนหลัง

  • ภาพกิจกรรมเกมเกี่ยวกับหน่วยที่สอน เรื่อง กล้วย


เทคนิคการสอน
  1. ได้ลงมือปฏิบัติกระทำเอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับเพื่อน และร่วมกันวางแผนในการทำงานเกิดทักษะทางสังคมในการทำงานกลุ่มมากขึ้น
  2. การอธิบายวิธีการเขียนแผ่นพับอย่างละเอียดและแสดงวิธีทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
  3. การใช้คำถามปลายเปิดให้คิดได้หลากหลาย มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมีปฏิสัมพันธ์กับครู
  4. การดูแลเอาใจใส่เด็กขณะที่ทำและการให้คำแนะนำในการเขียน 
การนำไปประยุกต์ใช้

  1. การทำงานร่วมกับเพื่อน เปิดโอกาสให้ยอมรับความคิดเห็นและช่วยเหลือกันและกัน
  2. การทำแผ่นพับที่สามารถนำเทคนิคไปใช้ได้จริงเพื่อขอความร่วมมือกับผู้ปกครอง
  3. การมีวิธีที่หลากหลายในการของความร่วมมือกับผู้ปกครองได้อย่างเหมาะสม

ประเมินตนเอง(Evation)

ประเมินตนเอง(Me)  แต่งกายสุภาพ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและทำงานแสดงความคิดเห็นกับร่วมกับเพื่อนๆ สนใจในสิ่งใหม่ทีอาจารย์นำมาสอนเสมอๆ

ประเมินเพื่อน(Friend)  เข้าห้องตรงต่อเวลา เเต่งกายเรียบร้อย ช่วยเหลือกันและกันระหว่างการทำงานกลุ่ม มีสมุดจดบันทึก ยอมรับฟังความคิดเห็นกันและกันทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพ แต่ละกลุ่มได้ออกแบบแผ่นพับกลุ่มตนเองได้อย่างสร้างสรรค์และสวยงาม

ประเมินอาจารย์(Teachers) เข้าสอนตรงต่อเวลา ดูและเอาใจใส่นักศึกษา ใช้คำถามที่กระตุ้นความคิดที่หลากหลายเพื่อให้นักศึกษาคิดเกมใหม่ๆบ้าง ให้คำแนะนำเเละเป็นที่ปรึกษาที่ระหว่างการทำแผ่นพับ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นต้นแบบให้นักศึกษาปฏิบัติตาม









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น