บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วัน พฤหัสบดี ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2557
สรุปองค์ความรู้ที่ได้
เด็กอายุ 3
ปี
|
เด็กอายุ 4
ปี
|
เด็กอายุ 5
ปี
|
พัฒนาการด้านร่างกาย
· วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
· รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
· เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
· เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
· ใช้กรรไกรมือเดียวได้
· วาดและระบายสีอิสระได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
· แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
· ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
· กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
·
รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
·
ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
· เล่นสมมติได้
|
ด้านร่างกาย
· กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
· รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
· เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
· เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้
· ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
· กระฉับการเฉยไม่ชอบอยู่เฉย
ด้านอารมณ์และจิตใจ
· แสดงออกทางอารมณ์ได้
เหมาะสมกับบางสถานการณ์
· เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
ด้านสังคม
· แต่งตัวได้ด้วยตนเอง
ไปห้องส้วมได้เอง
· เล่นร่วมกับผู้อื่นได้
รอคอยตามลำดับก่อน – หลัง
· แบ่งของให้คนอื่น
· เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
|
ด้านร่างกาย
· กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
· รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
· เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
ด้านอารมณ์และจิตใจ
· แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์เหมาะสม
· ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
ด้านสังคม
· ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไดด้วยตนเอง
· เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
· พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้
ทำความเคารพ
|
เด็กอายุ 3
ปี
|
เด็กอายุ 4
ปี
|
เด็กอายุ 5
ปี
|
พัฒนาการด้านสติปัญญา
· สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
· บอกชื่อของตนเองได้
· ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
· สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
|
พัฒนาการด้านสติปัญญา
· จำแนกสิ่งต่าง ๆ
ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
· บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
· พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
|
พัฒนาการด้านสติปัญญา
· บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง
รส รูปร่าง
จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
· บอกชื่อ นามสกุล
และอายุของตนเองได้
· พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
|
1. รู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ได้ออกแบบ สร้างสรรค์ ผลงานให้สวยงาม
3. นำความรู้ที่เกียวกับวิทยาศาสตร์ไปจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก
4. เข้าใจพัฒนาการของเด็กมากขึ้นจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับวัย
การบ้าน
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้ เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้ เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดร.ดินา สตาเคิล ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ ประเทศอิสราเอล ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์ สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4 หน่วย ดังนี้ หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้ หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4
หน่วยดังกล่าว
เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ได้แก่ ทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท
การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์
แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้
หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย 2
ประการ คือ การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และการเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ คือ 1) การสังเกต
2) การจำแนกเปรียบเทียบ 3)
การวัด 4) การสื่อสาร
5) การทดลอง 6)
การสรุปและนำไปใช้
สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์คือ
การสร้างให้เด็กมีนิสัยการค้นคว้า
การสืบค้น
และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว รู้จัก
แหล่งอ้างอิง
กุลยา ตันติผลาชีวะ.
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊คส์, 2551
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น