วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

                                          วัน พฤหัสบดี ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2557 

อุปกรณ์(contraption)

1. กรรไกร  2. ไม้เสียบลูกชิ้น 3. กระดาษ 4. เทปกาว


How to

1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.  พับครึ่งวาดรูปอะไรก็ได้ที่สัมพันธ์กันทั้ง 2 ด้าน
3. เอาไม้เสียบและติดเทปกาวให้แน่น
4. ทดลองหมุนกับมือเร็วๆสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้น













             เกิดจากการรับรู้ของสมองกับตาเป็นไปในทิศทางเดียว เพราะเราจะมองแต่ละภาพจนจำได้เมื่อหมุนไปหมุนมาเราก็จะจ้องภาพนั้นนานๆ ถ้ายิ่งเพิ่มความเร็วในการหมุดยิ่งก็จะทำให้สายตาเราปรับไม่ทันและรับรู้เกิดเป็นภาพเดียวกัน

Science Articles



1.  เด็กๆอนุบาลสนุกกับ “สะเต็มศึกษา” ผ่านโครงงานปฐมวัย  เน้นการนำความรู้และกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศกรรมศาสตร์ ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

2.  โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร? 

สสวท. ปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการ  เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย สำหรับกิจกรรมที่จัด มี 6 กิจกรรม ประกอบด้วย
1.  กิจกรรมหวานเย็นชื่นใจ
2.  ความลับของดิน
3.   ถึงร้อนก็อร่อยได้
4.   มหัศจรรย์กังหันลม
5.  ว่าวเล่นลม
6.  โมบายเริงลม

3.  บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์  การเรียนรู้โดยการใช้เข็มทิศฝึกให้เด็กได้คิดได้ลงมือปฏิบัติทำเอง เด็กรู้จักแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง  และภูมิใจในตนเอง


เทคนิควิธีสอน (Education)
                         
1.   มีการเตรียมความพร้อมการนำสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาทดลองดู และประดิษฐ์สื่อง่ายๆที่ได้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์และทำได้ง่ายเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย
2.  เปิดเพลงที่ร้องเกี่ยวกับคำตอบของวิทยาศาสตร์ ให้คิดตามอาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดในการแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน เพื่อให้เข้าใจความหมายที่ถูกต้อง

3.   การที่เพื่อนนำเสนอบทความ ทำให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในเเง่ต่างๆ ที่หลากหลายโดยไม่ซ้ำกันในแต่ละวัน


การประยุกต์ใช้   (Application )

1.  การเรียนโดยผ่านเพลง ทำให้จำง่าย เพราะแต่ละประโยคของเพลงนั้นสั้น แต่ได้ใจความ จึงทำให้เด็กๆได้ความรู้ และจากเพลงสามารถปฏิบัติตามเนื้อหาในเพลงได้
2.  การนำสื่อไปใช้กับเด็กทำให้เด็กเกิดความสนใจและอยากรู้อยากเห็นแล้วเด็กจะได้ลองถูกลองผิดตามความคิดซึ่งทำให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ตามมา
3.  การประดิษฐ์สื่อเล่นเองทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ ส่งผลให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง



การประเมิน (Evaluation)

ประเมินตนเอง = เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน และเเต่งกายถูกระเบียบ
ประเมินเพื่อน  = ตั้งใจเรียน ตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม ให้ความร่วมได้เป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์  =   อธิบายเนื้อหาเข้าใจ ใช้คำพูดที่ดีในการสอน มีสื่อมาให้ทดลอง ใช้คำถามปลายเปิดเผื่อกระตุ้นให้นักศึกษาคิดในการตอบคำถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

vocabulary

1.  science  process skills = ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  
2.  Collection = สะสมสิ่งใหม่ๆ  
3.  Facts = ความจริง 
4.  tools = เครื่องมือ  
5. Use = ใช้  
6.  Observe = สังเกต
7.  Measure = การวัด
8. Infer = ลงความเห็น  

ศึกษาเพิ่มเติม >>>Click<<<










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น