บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วัน พฤหัสบดี ที่ 16 ตุลาคม 2557
ของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉัน
อุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.
ดินน้ำมัน
3.
กระดาษ
วิธีการทำ
1. เป่าลูกโป่งขนาดพอประมาณ มัดปากลูกโป่งไว้ไม่ให้ลมออก
2. นำดินน้ำมันมาติดที่ลูกโป่งทำด้านล่างให้หนักกว่าด้านบนเพื่อให้มีจุดศูนย์กลางเดียว
3. ใช้เศษกระดาษมาแปะตามลูกโป่ง ตกแต่งให้สวยงาม
1. เป่าลูกโป่งขนาดพอประมาณ มัดปากลูกโป่งไว้ไม่ให้ลมออก
2. นำดินน้ำมันมาติดที่ลูกโป่งทำด้านล่างให้หนักกว่าด้านบนเพื่อให้มีจุดศูนย์กลางเดียว
3. ใช้เศษกระดาษมาแปะตามลูกโป่ง ตกแต่งให้สวยงาม
วิธีเล่น
สามารถเล่นได้หลายวิธี เช่น โยนเล่น กลิ้งกับพื้น
ตุ๊กตาล้มลุกจะตั้งได้เหมือนเดิม
เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์คือ
การมีจุดศูนย์กลางเป็นตัวถ่วง ทำให้วัตถุมีแรงดึงดูดไปในทิศทางเดียวกันและกลับมาตั้งอยู่แบบเดิม
สรุปความรู้ที่ได้รับ
1.
เด็กอนุบาลเรียนรู้จากประสบการณ์ ไม่ควรสอนเนื้อหา
แต่ครูควรเป็นผู้หาข้อมูล
เพื่อมาตอบคำถาม(สนับสนุน)
2.
การนำสิ่งของที่เหลือใช้มาประยุกต์
ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และเด็กได้รับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
3.
การประดิษฐิ์ของเล่นวิทย์ง่ายๆ
เด็กได้ลงมือทำเองได้ และสามารถเชื่อมโยงความรู้ในวิทยาศาสตร์
4.
เวลาทำของเล่น ควรจัดหาให้มีวัตถุที่หลากหลาย
เพื่อให้เด็กเลือก
5.
ของเล่นแต่ละอย่างมีความยาก
ง่ายในการทำที่ต่างกัน บางอย่างอาจจะให้เด็กช่วยกันประดิษฐ์แบบกลุ่ม ก็ได้
เทคนิควิธีการสอน
1.
การปฏิบัติจริงและนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์ของเล่นที่เด็กทำได้
2.
มีการใช้คำถาม”ทำไม” ให้รู้จักสังเกตและค้นหาคำตอบ
3.
การหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ตนเองประดิษฐ์
4.
การนำเสนอหน้าชั้น การใช้คำควบคล้ำ (ร ล )ต้องชัดเจน
การประเมินผล (Evaluation)
ตั้งใจฟังอาจารย์ และเพื่อนนำเสนอ ไม่พูดคุยระหว่างเรียน
จดบันทึกทุกครั้งที่เรียน มีความรับผิดชอบในงานที่ทำ เข้าเรียนตรงเวลา
และแต่งการถูกระเบียบ
มีความรับผิดชอบ ผลงานประดิษฐิ์ของแต่ละคนมีความตั้งใจในการทำ
และตั้งใจนำเสนอ ทุกคนให้ส่วนร่วมในการตอบคำถามและให้ความสนใจต่อเพื่อนที่นำเสนอด้วย
ประเมินอาจารย์ (Teacher)
เข้าสอนตรงต่อเวลา มีข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนให้เข้าใจมากขึ้น มีการอธิบายเกี่ยวกับของเล่นที่ประดิษฐ์เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
และ สามารถต่อยอดชิ้นงานได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น