วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วัน พฤหัสบดี ที่ 8 พฤศจิกายน  2557




กิจกรรมในวันนี้  ส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมาน้ำเสนอ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ดั้งนี้

กลุ่มที่ 1 ชนิดของกล้วย(Banana)





ขั้นนำ : ครูร้องเพลง กล้วยหวาน หวาน  มีหลากหลายนานา  ใครบอกครูได้หนาว่ามีกล้วยอะไร?
(คำตอบที่เด็กตอบนั้นจะเชื่อมโยงกับประสบการความรู้เดิม)
ขั้นสอน :     ครู ถามเด็กๆว่า วันนี้เรามีกล้วยมาทั้งหมดกี่หวี
                   เด็ก : มี 7 หวี
                    ครู : ให้อาสาสมัครออกมาหยิบเลขฮินดูอารบิก เลข 7 ไปติด

การใช้เกณฑ์การจำเเนก การเปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า
                                       มีสีเหลืองกับที่ไม่มีสีเหลือง
                                       กล้วยน้ำว้า กับ กล้วยอื่นๆ
วัตถุประสงค์
1.เด็กนับจำนวน โดยใช้เลขฮินดูอารบิกแทนค่าได้   2. เด็กบอกชนิดของกล้วยได้




กลุ่มที่ 2 สอนเรื่องลักษณะของไก่ (Chicken)





1.มีรูปไก่แต่ละชนิดมาให้เด็กดูและบอกชื่อส่วนต่างๆของไก่ โดยใช้คำถามปลายเปิด  เช่น ลักษณะของไก่มีอะไรบ้าง? มีสีอะไรบ้าง?
2. มีแผนผังวงกลมบอกความเหมือนต่างของไก่แต่ละชนิด


วัตถุประสงค์

- บอกลักษณะของไก่เเจ้ และไก่ต๊อกได้
- เปรียบเทียบความเเตกต่างได้
- หาความสัมพันธ์ของไก่เเจ้ และไก่ต๊อกได้

- เด็กได้เรียนรู้>>>ภาษาจาก ( เพลง ) , คณิตศาสตร์ เช่น ( การนับ ) ,วิทยาศาสตร์จากการ (สังเกต )



กลุ่มที่ กบ (Frog)








ขั้นนำ เปิดวีดีโอนิทานเกี่ยวกับวัฏจักรของกบ ในนิทานจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับวงจรชีวิตของกบซึ่งเกิดมาจากไข่และเจริญเติบโตต่อไปเรื่อยๆ  การดำรงชีวิตของกบกินแมลงเป็นอาหาร และกบก็จำศีล ในช่วงฤดูหนาว ด้วยการขุดหลุดอยู่ใต้ดิน ปิดปาก ปิดตา ปิดจมูก และหายใจทางผิวหนัง

ขั้นสอน ครูใช้คำถามทบทวนความรู้จากที่ดูคลิปวีดีโอไป เช่น เด็กเคยเห็นกบที่ไหน กบมีสีอะไร กบมีการเจริญเติบโตอย่างไร แล้วกบจำศีลเมื่อไหร่ เป็นต้น

สรุป  ครูและเด็กสรุปความรู้โดยวาดวัฏจักรของกบร่วมกัน




กลุ่มที่ 4 สอนเรื่อง ประโยชน์ และข้อพึงระวังของปลา (Fish) 





ขั้นนำ  ครูเล่านิทานที่เกี่ยวกับปลา ขณะที่เล่าใช้คำถามที่มีลักษณะปลายเปิดไปด้วย เช่น ปลาเอาไปทำเป็นอาหารอะไรได้บ้าง เด็กตอบจากประสบการณ์เดิม เช่น ต้ำยำ ทอด ย่าง

ประโยชน์  =  นำไปขาย    ทำอาหาร       แปรรูป

ข้อพึงระวัง

- ไม่ทานขณะที่ดิบๆ ทำให้เป็นพยาธิได้
- ปลาบางชนิดมีพิษ เช่น ปลาปักเป้า
- ก้างปลา  ทำให้ติดคอ

ข้อเสนอแนะ  ควรมีกิจกรรมเอาประโยชน์ส่วนต่างๆของปลามาทำงานประดิษฐ์ เช่น เกร็ดปลา นำมาทำดอกไม้ได้



กลุ่มที่ 5  ทำทาโกยากิจากข้าว Rice






ขั้นนำ    ครูบอกชื่ออุปกรณ์ ส่วนผสม ที่เตรียมไว้
ขั้นสอน  ครูสาธิตวิธีการทำ และเรียกอาสาสมัครมาช่วยครู เช่น ให้เด็กตอกไข่ ใส่ผัก ใส่ข้าว จากนั้นครูก็คนให้เข้ากัน ตักใส่เตาทาโกยากิ ให้เด็กๆสังเกตการเปลียนแปลงที่เกิดขึ้น


 กลุ่มที่ 6 สอนเรื่องชนิดของต้นไม้ (Tree)
ขั้นนำ  1.ครูพูดคำคล้องจองเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้
2.ใช้คำถามปลายเปิด ถามเด็กๆในคำคล้องจอง มีต้นไม้อะไรบ้าง แล้วนอกจากต้นไม้ในคำคล้องจองมีต้นไม้อะไรอีก
ขั้นสอน  1.ครูนำภาพต้นไม้มาให้เด็กดู  เช่น ต้นเข็ม
2.ครูให้เด็กออกมาหยิบภาพเพื่อนับจำนวนของต้นเข็ม และที่ไม่ใช่ต้นเข็ม
การใช้เกณฑ์จำเเนก   การบอกค่าจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่ากี่ต้น


กลุ่มที่ 7  สอนเรื่อง ลักษณะของนม Milk




ขั้นนำ  ครูร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ
ขั้นสอน ทำการทดลอง  1.หยดน้ำยาล้างจานลงไปในนม  2. เอาสีผสมอาหารใส่ตามไป
สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น = ระหว่างน้ำยาล้างจาน  นม เเละสีผสมอาหาร เมื่อผสมรวมกัน 
จะเห็นได้ว่า = นมเป็นของเหลวมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่ใส่  คุณสมบัติของเหลวก็จะมีการไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ หาค่าความสัมพันธ์นมมีหลายชนิดให้คุณค่าสารอาหารที่ต่างกัน เช่น นมจากธัญพืช(ถั่วเหลือง) นมจากสัตว์(นมวัว,แพะ)
กลุ่มที่ 8 สอนเรื่อง การอนุรักษ์น้ำ  Water
ขั้นนำ     1. ร้องเพลง อย่าทิ้ง  2.เล่านิทาน พร้อมกับใช้คำถามปลายเปิด 
จากนั้นก็ให้เด็กทำป้ายข้อความอนุรักษ์แหล่งน้ำ ซึ่งจัดในหน่วยศิลปะสร้างสรรค์       

กลุ่มที่ 9 สอนเรื่อง การปลูกมะพร้าว Coconut

ขั้นนำ  เพลง นิทาน ภาพเกี่ยวกับต้นมะพร้าว
 ครูใช้คำถามปลายเปิด ถามเด็กๆว่าปลูกที่ไหนดี แล้วปลูกติดๆกันได้ไหม
ขั้นสอน  ครูนำแผ่นภาพมาเรียนตามขั้นตอนการปลูก ต้นมะพร้าว  ทบทวนความรู้เด็กๆโดยให้เด็กออกมาเรียงลำดับการปลูกต้นมะพร้าว

 กลุุ่มที่ 10  ทำเมนูผลไม้ผัดเนย  Fruit





ขั้นนำ  1.ร้องเพลง ตรงไหมจ้ะ  2.ใช้คำถามปลายเปิด เช่น เด็กๆรู้จักผลไม้อะไรกันบ้าง
3.ครูบอกอุปกรณ์ และส่วนผสมต่างๆ  ให้เด็กๆดูและสังเกต
ขั้นสอน  ครูสาธิตวิธีการทำ แล้วให้เด็กๆสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อใส่เนยลงเตา  ครูถามเด็กจากที่เด็กได้สังเกต พร้อมอธิบายให้เด็กฟังว่าเนยโดนความร้อนเกิดการละลาย จึงทำให้เนยนิ่ม


เทคนิคการสอน Teaching
  1. เปิดโอกาสให้ได้ลงมือปฎิบัติจริง
  2. ให้คำปรึกษาในการเขียนแผนและนำเสนอกิจกรรมอย่างดี
  3. สนับสนุนอุปกรณ์ในการเตรียมการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
  4. ให้ข้อเสอนแนะที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปปรับปรุงในการนำเสนอการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อีกโอกาสหน้า
  5. สรุปกิจกรรมของแต่ละกลุ่มได้อย่างเข้าใจ สามารถนำไปแก้ไขให้ถูกต้อง

การนำไปประยุกต์ใช้ (Appications)
  1. สามารถนำไปบูรณาการกับหน่วยการเรียนรู้วิชาอื่นได้ เช่น การประดิษฐ์ก็นำไปบูรณาการกับศิลปะสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี
  2. การเขียนแผนที่ถูกต้อง และหลากหลายสามารถ นำไปใช้ประโยชน์กับเด็กได้จริง
  3. การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในเเต่ละหน่อยที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
  4. การจัดกิจกรรมทำอาหาร ครูต้องดูแลอย่างไกล้ชิดคำนึกถึงความปลอดภัยของเด็กเสมอ


การประเมิน Evaluation

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา เตรียมอุปกรณ์พร้อมในการนำเสนอกิจกรรม จดบันทึกเนื้อหาความรู้จากที่เพื่อนๆได้นำเสนอและสนใจในการจัดกิจกรรมทุกกลุ่ม ให้ความร่วมมือ
 เช่น อาสาสมัคร ร่วมชิมอาหารที่เพื่อนทำ ช่วยเก็บอุปกรณ์

ประเมินเพื่อน  เตรียมตัวมาดี โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำอาหารมีความตั้งใจในการจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องปรุงต่างๆ โดยหั่นผัก หั่นผลไม้ มาก่อน เพื่อนๆในห้องตื่นเต้นและให้ความสนใจในการทำอาหารทั้งีของกลุ่ม ข้าว และ ผลไม้ และก็ร่วมชิมอาหารของเพื่อนๆ เมนูข้าวอร่อยมาก ของผลไม้ก็อร่อยแต่หวานเกินไปหน่อย

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม ให้คำปรึกษาที่ดีก่อนการเตรียมทำกิจกรรม สนับสนุนด้านการเตรียมอุปกรณ์ เช่น ช่วยหาเตาทาโกยากิ ปลั๊กไฟ เป็นต้น อธิบายในด้านการสอนได้ละเอียดมีประโยชน์สำหรับนำไปประโยชน์ใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น