วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วัน พฤหัสบดี ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2557




ความรู้ที่ได้รับ

 สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้เป็นการนำเสนอวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยวันนี้ได้ออกมานำเสนอทั้งหมด 7 เรื่อง
1.น.ส.กมลพรรณ แสนจันทร์ นำเสนอ เรื่อง การส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา
สรุปผลการวิจัย
         การส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนชั้นอนุบาล3 โดยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่าเด็กนักเรียนอนุบาล 3 ทั้ง 36 คน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกม การศึกษามีทักษะการสังเกตสูงขึ้น

2.น.ส.กมลกาญจน์  มินสาคร เรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
สรุปผลการวิจัย
นิทานที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมทดลองหลังการฟังนิทานมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ที่มีทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อสาร อยู่ในเรื่อง เช่น นิทานเรื่องครึ่งวงกลมสีแดงเป็นเนื้อเรื่องที่สอนให้เด็กสังเกต รูปทรงเลขาคณิตต่างๆว่า เป็นอะไรได้บ้าง เช่น วงกลมเป็นพระอาทิตย์ สามเหลี่ยมเป็นหลังคา เด็กจะได้ใช้ความคิดตามเนื้อเรื่องในนิทาน ได้ฝึกการสังเกต การจำแนก สื่อสารความหมายให้ผู้อื่นทราบ

3. น.ส.นฤมล  บุญคงชู  เรื่อง  การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย
การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีขั้นตอน ดังนี้ 
1.ทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อที่น่าสนใจ
2. เด็กค้นคว้าวิจัยหาความรู้ ครูจะพาเด็กไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ทำให้เด็กมีประสบการณ์ตรง 
3.การประเมินผลการจัดการเรียนรู้ โดย สังเกต สนทนา พูดคุย ประเมินจากผลงาน 

สรุปผลการวิจัย 
คำสำคัญ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ / กิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติ
จุดมุ่งหมาย  
  1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
เครื่องมือที่ใช้
  1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
  2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
เด็กได้รับทักษะ
  • การสังเกต  การจำแนก  หามิติสัมพันธ์  ลงความเห็น
จุดมุ่งหมาย  เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และแบบปกติ
สรุปผลการวิจัย 
เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน โดยเด็กที่ได้รับการจัดเเบบเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะสูงกว่าแบบปกติ ซึ่งกิจกรรมแบบเน้นกระบวนการนั้นจะเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมกิจกรรมทุกขั้นตอน ได้ปฏิบัติจริงโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ในการสังเกต เปรียบเทียบ ทดลอง และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

จุดมุ่งหมาย
  1. เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยจำแนกหลายด้าน การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
  2. เปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้
  • แบบทดสอบระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
  • แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
สรุปผลการวิจัย 
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ โดยเด็กเป็นผู้ปฏิบัติลงมือด้วยตนเอง ลักษณะกิจกรรมเด็กได้สังเกตวัสดุอุปกรณ์ วางแผนทดลอง สังเกตการเปลี่ยนแปลง และสรุปการทดลองตามความเข้าใจตนเอง 


จุดมุ่งหมาย

           เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ 
เครื่องมือที่ใช้

1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
  • แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  •  แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล จำนวน 50 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ชุด
1) แบบทดสอบด้านการจำเเนก  2)การจัดประเภท  3)อุปมาอุปมัย  4)อนุกรม 5)เเบบทดสอบสรุปความรู้

สรุปผลการวิจัย
           เด็กปฐมวััยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเเบบปกติหลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 กิจกรรมศิลป์เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เน้นการแก้ปัญหา โดยใช้วัสดุอุปกรณ์มางศิลปเป็นตัวกระตุ้นกำหนดเงื่อนไขแก้ปัญหา


เทคนิคการสอนTeaching
  1. ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ฝึกการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามได้
  2. ฝึกการอ่าน สรุปวิจัยให้ได้ใจความสำคัญ
  3. สอดแทรก และอธิบายความรู้เพิ่มเติมได้อย่างเข้าใจ
  4. การออกไปนำเสนอบ่อยๆทำให้รู้สึกชินกับหน้าชั้นเรียนเเละสร้างความมั่นใจให้เกิดความกล้าคิดกล้าพูดมากขึ้น 
  5. แนะนำการหาข้อมูลมานำเสอน เช่น บอกชื่อวิจัย จุดประสงค์ และแผนกิจกรรมมานำเสนอ

การประยุกต์ใช้Application
  1. ศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับวิจัยให้หลากหลาย ดูแผนกิจกรรมจากวิจัยเพื่อเป็นแนวทางต่อไปในการทำวิจัยในอนาคต
  2. นำแผนกิจกรรมที่สนใจไปศึกษาต่อ สามารถนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัยเมื่อออกฝึกสอนได้
  3. การสอนวิทยาศาสตร์ต้องสอนในเรื่องที่ไกล้ๆตัวเด็กก่อน และสอนจากเรื่องง่ายไปยากเสมอ
  4. ต้องศึกษาความรู้เกี่ยวกับวิจัยไว้มากๆ เพราะผ่านการนำไปใช้จริง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนมากขึ้น

การประเมินEvaluation

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอวิจัยพร้อมจดบันทึก ร่วมตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม ฟังคำแนะนำที่อาจารย์บอกเพื่อนมาใช้กับตัวเองได้ เนื่องจากสัปดาห์นี้เป็นการนำเสนอวิจัยทั้งคาบทำให้บรรยากาศในห้องค่อนข้างเสียงดัง ดิฉันจึงขาดสมาธิในการฟังไปบ้างบางครั้ง

ประเมินเพื่อน   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เสียงดังเล็กน้อย ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามบางคนก็ตั้งใจตลอดพร้อมกับจดบันทึก เพื่อนที่ออกไปนำเสนอมีความตั้งใจเตรียมตัวมา มีเอกสาร ในการนำเสนอ ได้รับคำเเนะนำจากอาจารย์ให้ไปศึกษาความรู้เพิ่มเติม

ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงต่อเวลาเสมอ แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจให้คำแนะนำศึกษาวิจัยที่ทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย














วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วัน พฤหัสบดี ที่ 8 พฤศจิกายน  2557




กิจกรรมในวันนี้  ส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมาน้ำเสนอ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ดั้งนี้

กลุ่มที่ 1 ชนิดของกล้วย(Banana)





ขั้นนำ : ครูร้องเพลง กล้วยหวาน หวาน  มีหลากหลายนานา  ใครบอกครูได้หนาว่ามีกล้วยอะไร?
(คำตอบที่เด็กตอบนั้นจะเชื่อมโยงกับประสบการความรู้เดิม)
ขั้นสอน :     ครู ถามเด็กๆว่า วันนี้เรามีกล้วยมาทั้งหมดกี่หวี
                   เด็ก : มี 7 หวี
                    ครู : ให้อาสาสมัครออกมาหยิบเลขฮินดูอารบิก เลข 7 ไปติด

การใช้เกณฑ์การจำเเนก การเปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า
                                       มีสีเหลืองกับที่ไม่มีสีเหลือง
                                       กล้วยน้ำว้า กับ กล้วยอื่นๆ
วัตถุประสงค์
1.เด็กนับจำนวน โดยใช้เลขฮินดูอารบิกแทนค่าได้   2. เด็กบอกชนิดของกล้วยได้




กลุ่มที่ 2 สอนเรื่องลักษณะของไก่ (Chicken)





1.มีรูปไก่แต่ละชนิดมาให้เด็กดูและบอกชื่อส่วนต่างๆของไก่ โดยใช้คำถามปลายเปิด  เช่น ลักษณะของไก่มีอะไรบ้าง? มีสีอะไรบ้าง?
2. มีแผนผังวงกลมบอกความเหมือนต่างของไก่แต่ละชนิด


วัตถุประสงค์

- บอกลักษณะของไก่เเจ้ และไก่ต๊อกได้
- เปรียบเทียบความเเตกต่างได้
- หาความสัมพันธ์ของไก่เเจ้ และไก่ต๊อกได้

- เด็กได้เรียนรู้>>>ภาษาจาก ( เพลง ) , คณิตศาสตร์ เช่น ( การนับ ) ,วิทยาศาสตร์จากการ (สังเกต )



กลุ่มที่ กบ (Frog)








ขั้นนำ เปิดวีดีโอนิทานเกี่ยวกับวัฏจักรของกบ ในนิทานจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับวงจรชีวิตของกบซึ่งเกิดมาจากไข่และเจริญเติบโตต่อไปเรื่อยๆ  การดำรงชีวิตของกบกินแมลงเป็นอาหาร และกบก็จำศีล ในช่วงฤดูหนาว ด้วยการขุดหลุดอยู่ใต้ดิน ปิดปาก ปิดตา ปิดจมูก และหายใจทางผิวหนัง

ขั้นสอน ครูใช้คำถามทบทวนความรู้จากที่ดูคลิปวีดีโอไป เช่น เด็กเคยเห็นกบที่ไหน กบมีสีอะไร กบมีการเจริญเติบโตอย่างไร แล้วกบจำศีลเมื่อไหร่ เป็นต้น

สรุป  ครูและเด็กสรุปความรู้โดยวาดวัฏจักรของกบร่วมกัน




กลุ่มที่ 4 สอนเรื่อง ประโยชน์ และข้อพึงระวังของปลา (Fish) 





ขั้นนำ  ครูเล่านิทานที่เกี่ยวกับปลา ขณะที่เล่าใช้คำถามที่มีลักษณะปลายเปิดไปด้วย เช่น ปลาเอาไปทำเป็นอาหารอะไรได้บ้าง เด็กตอบจากประสบการณ์เดิม เช่น ต้ำยำ ทอด ย่าง

ประโยชน์  =  นำไปขาย    ทำอาหาร       แปรรูป

ข้อพึงระวัง

- ไม่ทานขณะที่ดิบๆ ทำให้เป็นพยาธิได้
- ปลาบางชนิดมีพิษ เช่น ปลาปักเป้า
- ก้างปลา  ทำให้ติดคอ

ข้อเสนอแนะ  ควรมีกิจกรรมเอาประโยชน์ส่วนต่างๆของปลามาทำงานประดิษฐ์ เช่น เกร็ดปลา นำมาทำดอกไม้ได้



กลุ่มที่ 5  ทำทาโกยากิจากข้าว Rice






ขั้นนำ    ครูบอกชื่ออุปกรณ์ ส่วนผสม ที่เตรียมไว้
ขั้นสอน  ครูสาธิตวิธีการทำ และเรียกอาสาสมัครมาช่วยครู เช่น ให้เด็กตอกไข่ ใส่ผัก ใส่ข้าว จากนั้นครูก็คนให้เข้ากัน ตักใส่เตาทาโกยากิ ให้เด็กๆสังเกตการเปลียนแปลงที่เกิดขึ้น


 กลุ่มที่ 6 สอนเรื่องชนิดของต้นไม้ (Tree)
ขั้นนำ  1.ครูพูดคำคล้องจองเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้
2.ใช้คำถามปลายเปิด ถามเด็กๆในคำคล้องจอง มีต้นไม้อะไรบ้าง แล้วนอกจากต้นไม้ในคำคล้องจองมีต้นไม้อะไรอีก
ขั้นสอน  1.ครูนำภาพต้นไม้มาให้เด็กดู  เช่น ต้นเข็ม
2.ครูให้เด็กออกมาหยิบภาพเพื่อนับจำนวนของต้นเข็ม และที่ไม่ใช่ต้นเข็ม
การใช้เกณฑ์จำเเนก   การบอกค่าจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่ากี่ต้น


กลุ่มที่ 7  สอนเรื่อง ลักษณะของนม Milk




ขั้นนำ  ครูร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ
ขั้นสอน ทำการทดลอง  1.หยดน้ำยาล้างจานลงไปในนม  2. เอาสีผสมอาหารใส่ตามไป
สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น = ระหว่างน้ำยาล้างจาน  นม เเละสีผสมอาหาร เมื่อผสมรวมกัน 
จะเห็นได้ว่า = นมเป็นของเหลวมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่ใส่  คุณสมบัติของเหลวก็จะมีการไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ หาค่าความสัมพันธ์นมมีหลายชนิดให้คุณค่าสารอาหารที่ต่างกัน เช่น นมจากธัญพืช(ถั่วเหลือง) นมจากสัตว์(นมวัว,แพะ)
กลุ่มที่ 8 สอนเรื่อง การอนุรักษ์น้ำ  Water
ขั้นนำ     1. ร้องเพลง อย่าทิ้ง  2.เล่านิทาน พร้อมกับใช้คำถามปลายเปิด 
จากนั้นก็ให้เด็กทำป้ายข้อความอนุรักษ์แหล่งน้ำ ซึ่งจัดในหน่วยศิลปะสร้างสรรค์       

กลุ่มที่ 9 สอนเรื่อง การปลูกมะพร้าว Coconut

ขั้นนำ  เพลง นิทาน ภาพเกี่ยวกับต้นมะพร้าว
 ครูใช้คำถามปลายเปิด ถามเด็กๆว่าปลูกที่ไหนดี แล้วปลูกติดๆกันได้ไหม
ขั้นสอน  ครูนำแผ่นภาพมาเรียนตามขั้นตอนการปลูก ต้นมะพร้าว  ทบทวนความรู้เด็กๆโดยให้เด็กออกมาเรียงลำดับการปลูกต้นมะพร้าว

 กลุุ่มที่ 10  ทำเมนูผลไม้ผัดเนย  Fruit





ขั้นนำ  1.ร้องเพลง ตรงไหมจ้ะ  2.ใช้คำถามปลายเปิด เช่น เด็กๆรู้จักผลไม้อะไรกันบ้าง
3.ครูบอกอุปกรณ์ และส่วนผสมต่างๆ  ให้เด็กๆดูและสังเกต
ขั้นสอน  ครูสาธิตวิธีการทำ แล้วให้เด็กๆสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อใส่เนยลงเตา  ครูถามเด็กจากที่เด็กได้สังเกต พร้อมอธิบายให้เด็กฟังว่าเนยโดนความร้อนเกิดการละลาย จึงทำให้เนยนิ่ม


เทคนิคการสอน Teaching
  1. เปิดโอกาสให้ได้ลงมือปฎิบัติจริง
  2. ให้คำปรึกษาในการเขียนแผนและนำเสนอกิจกรรมอย่างดี
  3. สนับสนุนอุปกรณ์ในการเตรียมการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
  4. ให้ข้อเสอนแนะที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปปรับปรุงในการนำเสนอการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อีกโอกาสหน้า
  5. สรุปกิจกรรมของแต่ละกลุ่มได้อย่างเข้าใจ สามารถนำไปแก้ไขให้ถูกต้อง

การนำไปประยุกต์ใช้ (Appications)
  1. สามารถนำไปบูรณาการกับหน่วยการเรียนรู้วิชาอื่นได้ เช่น การประดิษฐ์ก็นำไปบูรณาการกับศิลปะสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี
  2. การเขียนแผนที่ถูกต้อง และหลากหลายสามารถ นำไปใช้ประโยชน์กับเด็กได้จริง
  3. การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในเเต่ละหน่อยที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
  4. การจัดกิจกรรมทำอาหาร ครูต้องดูแลอย่างไกล้ชิดคำนึกถึงความปลอดภัยของเด็กเสมอ


การประเมิน Evaluation

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา เตรียมอุปกรณ์พร้อมในการนำเสนอกิจกรรม จดบันทึกเนื้อหาความรู้จากที่เพื่อนๆได้นำเสนอและสนใจในการจัดกิจกรรมทุกกลุ่ม ให้ความร่วมมือ
 เช่น อาสาสมัคร ร่วมชิมอาหารที่เพื่อนทำ ช่วยเก็บอุปกรณ์

ประเมินเพื่อน  เตรียมตัวมาดี โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำอาหารมีความตั้งใจในการจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องปรุงต่างๆ โดยหั่นผัก หั่นผลไม้ มาก่อน เพื่อนๆในห้องตื่นเต้นและให้ความสนใจในการทำอาหารทั้งีของกลุ่ม ข้าว และ ผลไม้ และก็ร่วมชิมอาหารของเพื่อนๆ เมนูข้าวอร่อยมาก ของผลไม้ก็อร่อยแต่หวานเกินไปหน่อย

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม ให้คำปรึกษาที่ดีก่อนการเตรียมทำกิจกรรม สนับสนุนด้านการเตรียมอุปกรณ์ เช่น ช่วยหาเตาทาโกยากิ ปลั๊กไฟ เป็นต้น อธิบายในด้านการสอนได้ละเอียดมีประโยชน์สำหรับนำไปประโยชน์ใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี






วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วัน พฤหัสบดี ที่ 30 ตุลาคม 2557


กิจกรรมในวันนี้ คือ การทดลองวิทยาศาสตร์พาเพลิน




การทดลองที่ 1  ดินน้ำมัน ลอย จม




ดินน้ำมัน ลอย จม
        เมื่อปั้นดินน้ำมันแบบกลมๆแล้วเอาไปใส่ในน้ำ จะสังเกตได้ว่า การปั้นแบบกลมมีน้ำหนัมากทำให้ดินน้ำมันจมลงไป แต่เมือทดลองปั้นให้คล้ายๆเรื่อโดยมีขอบแล้วเอาไปใส่ลงน้ำ ผลปรากฏว่า ดินน้ำมันที่ปั้นลักษณะคล้ายเรื่อจะลอย เนื่องจากมีน้ำหนังเบาและตรงขอบๆจะเก็บเอาอากาศไว้จึงทำให้ไม่จม

การทดลองที่ 2  ดอกไม้บาน 




วิธีการทดลอง




การทดลอง ดอกไม้บาน  จะเห็นได้ว่าเมื่อเอาดอกไม้ที่ทำจากกระดาษA4 ไปลอยในน้ำ จะสักเกตเห็นว่า ดอกไม้บานออกไวเพราะมีลักษณะอ่อน กว่ากระดาษ100ปอนด์

การทดลองที่ 3 การไหลของน้ำ




การทดลอง การไหลของน้ำ เจาะรู้ข้างขวด3 รู ปิดเทปกาวไว้ทั้ง 3 รู้ เติมน้ำลงไปให้เต็มขวด  สังเกต การไหลเมื่อแกะเทปออกจากขวดรูทีละรู
1. เมื่อเปิดรูที่ 1 ซึ่งอยู่ด้านบนสุดสังเกตเหห็นว่า น้ำค่อยๆไหลออกน้อยมาก
2. เปิดรูที่ 2 ที่อยู่ตรงกลางน้ำไหลแรงขึ้นกว่ารูแรก
3.เปิดรูที่ 3 รูที่อยู่ด้านล่างสุดปรากฏว่า รูนี้มีการไหลที่แรงที่สุดกว่าทุกรู
  สรุป  เนื่องจากภายในขวดมีอากาศมาก เพราะกว่าน้ำจะไหลไปสู่รูที่1ก็มีพื้นที่ให้อากาศเข้าไปมาก จึงทำให้เกิดเเรงดันน้ำออกมาแรงกว่าทุกรู ส่วนรูอื่นอากาศยังเข้าไปถึงน้อย การไหลของน้ำจึงไม่แรง 

การทดลองที่ 4   การไหลจากสูง  ลงต่ำ



การทดลอง 1. เมื่อวางขวดน้ำไว้สูงกว่าที่รองรับน้ำ จะสังเกตได้ว่า น้ำจะไหลลงมาจากขวด
2. เมื่อวางขวดน้ำไว้ต่ำกว่าที่รองรับ  จะเห็นได้ว่า น้ำจะไม่ไหลเลย 
เพราะว่า น้ำมีการไหล จากที่สูง ลงสู่ที่ต่ำ เสมอ

การทดลองที่ 5 เทียนดับ   เมื่อเอาเเก้วมาครอบที่เทียนจะดับ




การทดลองที่6 จุดเทียนไว้ในจาน



การทดลอง จุดเทียนไว้ในจานที่มีน้ำเมื่อครอบเเก้วลงไปที่เทียนไฟจะดับแล้ว น้ำที่อยู่รอบๆแก้วจะเข้าไปอยู่ในแก้ว

การทดลองที่7 การหักเห




การทดลอง เมื่อนำดินสอลงไปในน้ำเราจะมองเห็นได้ ดินสอว่ามีขนาดใหญ่กว่าเดิม เนื่องการการหังเหของแสงทำให้มองวัตถุมีขนาดใหญ่ไปกว่าเดิม

เทคนิคการสอน
  • ได้ทดลอง มีการคาดคะเน และลงมือในการปฏิบัติจริง
  • มีอุปกรณ์ที่หลากหลาย ให้สังเกตความแตกต่างแต่ละการทดลอง
  • ใช้คำถามจูงใจให้เกิดการอยากรู้อยากเห็นแต่ละการทดลอง ทำให้นักศึกษาสนใจในการทดลอง
  • เป็นการทดลองง่ายๆ สามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริง


ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา สนใจในการทดลองที่อาจารย์สอน จดบันทึกและมีจิตอาสาในการช่วยเก็บอุปกรณ์เมื่อทำการทดลองเสร็จ
ประเมินเพื่อน   เข้าเรียนเรียนตรงต่อเวลา มีสายเล็กน้อย ตั้งใจเรียนแต่ช่วงหลังๆมีคุยกันบ้างเล็กน้อย สนใจต่อกิจกรรมที่อาจารย์นำเสนอ
ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงต่อเวลา ใช้คำถามกระตุ้นกระบวนการคิด มีการทดลองที่หลากหลายน่าตื่นเต้น สามารถเชื่อมโยงความรู้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้อย่างชัดเจน











วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วัน พฤหัสบดี ที่ 18 ตุลาคม 2557
(ชดเชยวันที่ 23 )


สอนเขียนแผนการจัดประสบการณ์สอนวิทยาสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
หน่วยสอนของแต่ละกลุ่ม ดังนี้   หน่วยกล้วย  หน่วยข้าว  หน่วยนม  หน่วยกบ  หน่วยผลไม้  หน่วยมะพร้าว หน่วยน้ำ  หน่วยต้นไม้  หน่วยไก่  มีทั้งหมด10 หน่วย

หน่วยกล้วย





การนำไปประยุกต์ใช้

1.       การเขียนแผนการสอนให้เหมาะสมกับคุณลักษณะ ที่เป็นไปตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
2.       การเขียนแผนที่เด็กสนใจที่จะเรียนในหน่วยเรื่องนั้นๆ  และควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
3.       ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการวางแผน และลงมือปฏิบัติจริง
4.       มีการสำรวจ หรือ ออกทัศนะศึกษา ในหน่วยที่เรียน
5.       สามารถบูรณาการเข้ากับรายวิชาอื่นๆได้
6.       มีกิจกรรมในแต่ละวันที่หลากหลาย แตกต่างกันไป  เช่น ทำการทดลอง  ประกอบอาการ  หรือ เป็นเกมการศึกษา เป็นต้น

เทคนิควิธีการสอน

1.       การใช้คำถามที่กระตุ้นให้คิดการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและแตกต่างจากกลุ่มอื่น
2.       การอธิบายโดยให้คิดเป็นขั้นเป็นตอน  รู้จักการคิดอย่างเป็นระบบจะทำให้จำเนื้อหาได้ดี

3.      อธิบายการเขียนแผนที่ถูกต้อง  ยกตัวอย่างของแต่ละหน่วยในแต่ละกลุ่มให้เข้าใจ



การประเมินผล (Evaluation)



ประเมินตนเอง (Self)

วันนี้มาสาย15 นาที อาจารย์ได้เข้าสอนแล้ว แต่ก็พยายามตามอาจารย์ให้ทัน ถามเพื่อนหลังเลิกเรียนในเนื้อหาที่ตามไม่ทัน ตั้งใจเรียนและจดบันทึกไว้

ประเมินเพื่อน( Friends)

ถึงจะเป็นวันเรียนชดเชยแต่เพื่อนๆก็มาเรียนตรงต่อเวลา  จดบันทึกตามที่อาจารย์ได้อธิบาย มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม เมื่อสงสัยก็มีการยกมือถามอาจารย์ภายในห้อง กล้าคิดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม

ประเมินอาจารย์ (Teacher)

เข้าสอนตรงต่อเวลา เตรียมข้อมูลหรือเนื้อหามาสอนดี  ระดับเสียงพูดดังชัดเจน  มีวิธีอธิบายให้แต่ละกลุ่มให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย