วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วันที่ ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ
เวลาเรียน  08.30 - 12.30  น.  ห้อง  233




ม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์ สอบกลางภาค 1/2557








วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

                                                     บันทึกอนุทิน ครั้งที่  7

                                          วัน พฤหัสบดี ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2557 

สิ่งประดิษฐ์วันนี้
activity = โดเรม่อนเล่นเชือก
contraption =  1.  แกนทิชชู่  2.ไหมพรม





How to Play =  เอามาคล้องที่คอเเละลองเลื่อนขึ้นลงดู จะสังเกตได้ว่าการเลื่อนขึ้นลงได้ต้องกางเชื่อกออกกว้างๆ
                                                  
                                                                             Article

เทคนิควิธีสอน   

1.       ใช้คำถามปลายเปิดกระตุ้นความคิด เช่น  ทำไมจึงเลื่อนได้
2.       เทคนิคการเขียนแผนที่ถูกต้อง
3.       การนำเสนอโดยสรุปเป็น Mind map
4.       การอภิปรายและลงมือประดิษฐ์พร้อมๆกับนักศึกษาด้วย
5.       การสอนแบบปฏิบัติจริง และอธิบายความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความ
6.       การตามเลขที่ทำให้คุยกันน้อยลงระหว่างเรียน


Evaluation   

1 .Me =   วันนี้ทานข้าวเช้าทำให้เข้าห้องช้า10นาที  การแต่งกายเรียบร้อย เตรียมอุปกรณ์ที่ครูสั่งมาเรียบร้อย ตั้งใจเรียน

2. Friends =   เพื่อนๆเตรียมอุปกรณ์มากันทุกคน ตั้งใจทำกิจกรรม มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม ในชั้นเรียน
3. Teacher =   มีเทคนิคการสอนที่แปลกใหม่ เช่น วันนี้ให้นั่งตามเลขที่ มีงานประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ มาให้ทดลองเล่น ทำให้เราอยากรู้และตั้งใจในการทำกิจกรรมนั้นมากขึ้น








วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6


                                                      บันทึกอนุทิน ครั้งที่  6

                                          วัน พฤหัสบดี ที่ 25 กันยายน พ.ศ.2557 




activityเฮลิคอปเตอร์กระดาษ

contraption = 1. กระดาษตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า  2. คลิปหนีบกระดาษ

How to ?



How to Play = ให้โดนขึ้นสูงๆและสังเกตจะมีทิศทางไปตามลมขณะที่ตกลงพื้น ยิ่งโดนขึ้นหลายๆครั้งยิ่งสนุก


(ฺBy Activities) = เด็กได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติจริง สอดคล้องกับ วิธีการเรียนรู้ Constructivism ซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ความยาก-ง่าย สอดคล้องกับ พัฒนาการ Development  ธรรมชาติการเรียนรู้ คือ คุณลักษณะ



Article



1. แสงสีกับชีวิตประจำวัน  แม่สีของแสงมีทั้งหมด 3 สีด้วยกัน คือแสงสีแดง แสงสีน้ำเงิน และแสงสีเขียว
2. เงา...มหัศจรรย์ต่อสมอง เรื่องราวของ เงาเกี่ยวข้องกับการทำงานของแสง
3.  สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  กิจกรรมในการสอน สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ให้คน พืช สัตว์เหล่านี้อยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน
4.  วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย  โปรแกรมมาทาล โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์
5.  การทดลองทางวิทยาศาสตร์  การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอด เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรง



 Mind map เรื่องกล้วย



สรุป Mind map เรื่องกล้วย






เทคนิควิธีสอน

1. ใช้คำถามปลายเปิดให้เกิดการกระตุ้นในการคิด
2. อธิบายในการเขียนสรุปMind mapที่ถูกต้อง 
3. ให้ลงมือประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
4.  การนำเสนอบทความเพื่อนๆได้รับความรู้จากบทความที่หลากหลายไม่ซ้ำกัน
5.  ทักษะการใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการเรียนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Evaluation

Me = แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในกิจกรรม เช่น การประดิษฐ์สือ  การตอบคำถาม
Friends =  มีสายเล็กน้อย ตั้งใจเรียน อาจมีคุยบ้างเล็กน้อย แต่ก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี  มีตั้งคำถาม ตอบคำถาม กับอาจารย์
Teacher = เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย พูดเสียงดังดีสามารถอธิบายเนื้อหาการเรียนการสอนได้อย่างชัดเจน













วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปVDOเรื่อง ความลับของแสง


 ความลับของแสง




เกิดแสงได้อย่างไร?

คุณสมบัติของแสง
แสงเป็น>>>คลื่น>>>ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆได้
ดังนั้นเรามองเห็นได้เกิดจากเเสงนั้นตกกระทบต่อวัตถุ และสะท้อนแสงจากวัตถุนั้นมาสู่ตาเรา

     การทดลองที่1
 อุปกรณ์           1. กล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง
                        2. อุปกรณ์  เช่น ตุ๊กตา
 วิธีการทดลอง  1. นำกล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง นำของต่างๆมาใส่กล่อง เช่น ตุ๊กตาจากนั้นปิดฝากล่อง แล้วมองผ่านรูที่เจาะจะไม่สามารถมองเห็น ตุ๊กตาเนื่องจากด้านในกล่องมีความมืดสนิท ค่อยๆเปิดฝากล่อง แล้วเจาะรูเพิ่ม เอาไฟฉายส่องไปในรูที่เจาะใหม่ จะเห็นของในกล่อง



            แสดงว่าเราจะสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้ เพราะมีแสงส่องโดนวัตถุและแสงสะท้อนกระทบกับวัตถุเข้ามาที่ตาของเรา จึงสามารถมองเห็นวัตถุได้
   

 การทดลองที่ 2
แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
อุปกรณ์            1.กระดาษสีดำ เจาะรูตรงกลางให้เท่ากัน 2 แผ่น
วิธีการทดลอง   1.เปิดไฟในห้องมืด นำกระดาษแผ่นแรกวางคั่นแสงกับพื้นห้อง จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเท่านั้น แล้วลองเอาแผ่นที่ 2 ทับก็จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเหมือนกัน
   



 การทดลองที่ 3

อุปกรณ์          1. กล่องกระดาษเจาะรูข้างกล่อง
                       2.ภาพต้นแบบ
วิธีการทดลอง 1.ส่องไฟจากภาพต้นแบบให้แสงผ่านรูเล็กๆ ภาพจะปรากฏบนกระดาษไข แล้วลองปรับภาพต้นแบบให้เลื่อนเข้า เลื่อนออก จะทำให้เกิดภาพเล็กภาพใหญ่ แต่จะเห็นเป็นภาพกลับหัวเพราะแสงวิ่งเป็นเส้นตรงตกกระทบด้านล่าง แล้วสะท้อนกลับด้านบนทำให้ภาพเป็นภาพกลับหัว จากการทดลองแสดงว่า คุณสมบัติของแสง คือ แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง ไปกระทบกับวัตถุและสะท้อนจากวัตถุเป็นเส้นตรงเหมือนกัน







การสะท้อนของแสง

    การทดลองที่1
อุปกรณ์      1. ไฟฉาย
                  2. กระจกเงา
การทดลอง 1. วางกระจกไว้ที่พื้น ฉายไฟฉายลงบนกระจกเงา แสงจะสะท้อนกลับมาเป็นแนวเส้นตรง เมื่อลองเปลี่ยนทิศทาง คือ หันแสงไปทางอื่นแสงจะสะท้อนไปทางตรงกันข้ามเสมอ เพราะลำแสงที่สะท้อนไปจะเป็นมุมที่เท่ากับมุมสะท้อนกลับ





     การทดลองที่2 เรียกการทดลองนี้ว่า กระจกฮาไรโดสโคป

อุปกรณ์      1. กระจกเงา 3 บาน
                  2. ภาพ
วิธีการทดลอง 1. นำกระจกเงา 3 บานมาติดกันให้เป็นสามเหลี่ยม เมื่อส่องภาพเข้าไปจะเกิดภาพมากมายเนื่องจาก การสะท้อนแสงและมุมกระจกจะทำให้เกิดภาพ






หลักการสะท้อน นำมาใช้ทำกล้องฮาไรโดสโคปที่ใช้ในเรือดำน้ำ




การหักเหของแสง คือ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง




เช่น การฉายแสงผ่านน้ำ ถ้าเป็นเส้นตรง แสงก็จะตรง ถ้าฉายแสงเฉียงแสงก็จะเฉียงตาม เนื่องจากน้ำมีความหนาแน่นมาก ทำให้แสงเคลื่อนที่ช้าการหักเหของแสงจะเดินทางจากมวลอากาศมาก ไปสู่มวลอากาศที่น้อย จึงเกิดการหักเห




     การทดลอง  อ่านหนังสือผ่านแก้วที่ใส่น้ำ จะพบว่าการหักเหของแสงจะกระจายออกทำให้ตัวหนังสือที่เห็นใหญ่
ขึ้น นำหลักการนี้มาทำเป็นเลนส์


เลนส์ ทำให้เกิดไฟได้



การทดลองการหักเหของแสงโดยผ่านการทดลองที่เรียกว่า รุ้งกินน้ำ

     การทดลองที่ 1 นำน้ำใส่อ่างแก้ว ประมาณครึ่งอ่าง นำกระจกเล็กๆจุ่มลงไปเฉียงทำมุมขึ้นมา แล้วจะเห็นการสะท้อนขึ้นมาเป็นสีรุ้งกินน้ำ




    การทดลองที่ 2 หันหลังให้ดวงอาทิตย์ แล้วฉีดน้ำไปรอบตัว จากนั้นสังเกตจากละอองน้ำ รุ้งกินน้ำจะเกิดตรงข้ามกับพระอาทิตย์เนื่องมาจากการหักเหของละอองน้ำ







คุณสมบัติ  เกิดการหักเหของแสงทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ




เงา     เป็นสิ่งที่คู่กับแสง เพราะเงานั้นตรงกันข้ามกับแสง




การทดลอง ส่องไฟตรงกับวัตถุจะเกิดเงาดำๆ บนพื้นที่วางวัตถุไว้ เป็นรูปวัตถุนั้นๆถ้าส่องตรงกับวัตถุเงาที่สะท้อนจะเป็น 2 เงา เนื่องจากแสงเดินทางผ่านเป็นเส้นตรงดูดกลืนแสงวัตถุมา จะเกิดเงาทุกครั้งเมื่อมีวัตถุมาขวางทางเดินของแสงนั่นเอง